วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการตัดต่อภาพด้วยโปรแกรม Photoshop

เทคนิคการตัดต่อภาพ

1. ก่อนอื่นก็ต้องเปิดไฟล์ภาพขึ้นมาก่อนหนึ่งภาพ




2. หลังจากเปิดไฟล์ภาพขึ้นมาแล้ว ก็ทำตามหมายเลขเลย แล้วคลิกที่ หมายเลข 4 กด copy เลย

3. แล้วเปิดไฟล์ภาพขึ้นมาอีกภาพ คลิก Edit แล้ว กด past ภาพที่เราทำการ เลือกไว้ จะเข้ามารวมกันส่วนที่มีขอบเกิน เราก็คลิกที่ tool ที่มีภาพยางลบ ลบออกซะให้เรียบร้อย


4. จากนั้นเราก็ มาขยับภาพให้เข้าที่เข้าทางตามต้องการตามหมายเลข







5. ก็จะเป็นแบบนี้ ขยับซะให้เรียบร้อย จะให้สูง ต่ำ ให้อ้วน ให้ผอมยังไงก็สุดแต่ใจชอบ


6. ผลลัพธ์ที่ได้ จะให้สวยเนียน งดงามเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความชำนาญในการตัดภาพ


สมาชิกในกลุ่ม

http://kamontip-apple.blogspot.com/
http://brainyofmemory.blogspot.com/
http://porntippulpraphai.blogspot.com/

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย
การศึกษากับสื่อมัลติมีเดียถึงคำว่า
สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ เสียงภาพเคลื่อนไหว และ วีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับทุกคน ความง่ายต่อการใช้ และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดีที่ตอบสนองต่อแนวคิด การสื่อสาร และทฤษฎีการเรียนรู้ ย่อมส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียที่สมควรจะศึกษา ได้แก่คอมพิวเตอร์กับการศึกษา มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านการศึกษาใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ด้านการบริหาร

มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในงานบริหารจัดการ ได้แก่ งานทะเบียน งานธุรการ ประวัติและข้อมูลการเงินและพัสดุ การจัดตารางสอน การแจ้งผลการเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค และเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้การดำเนินงานมีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เป็นอย่างมาก
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การนำเสนอเนื้อหา (Presentation) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนบนเว็บ (WBI) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเครือข่ายเจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะของ e-Learning ได้
ประเภทของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบ หรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรม ได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสาร และการให้ประสบการณ์ เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามี 2 ประเภทดังนี้
1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล

เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมเป็นฐานในการนำเสนอข้อมูลด้วย เช่น ควบคุมการเสนอภาพสไลด์มัลติวิชั่น ควบคุมการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอเชิงโต้ตอบ (Interactive Video) และเครื่องเล่นซีดี-รอม ให้เสนอภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ตามเนื้อหาบทเรียนที่ปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการสื่อสารทางเดียว
2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และนำเสนอแฟ้มที่ผลิตแล้วแก่ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาก็เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียน หรือใช้งาน ตามที่โปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดไว้ ก็จะได้เนื้อหาลักษณะต่าง ๆ อย่างครบถ้วน โดยการนำเสนอข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียนี้ จะเป็นไปในลักษณะสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive)
ความสำคัญของมัลติมีเดียต่อการศึกษา
1.พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สุดที่เรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ได้พัฒนาเพื่อใช้สนับสนุนภารกิจหลักของประเทศต่างๆ และของโลกมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วรองลงมา เช่น เครื่องเมนเฟรม (Mainframe) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ได้นำมาใช้กับระบบงานที่มีภารกิจใหญ่น้อยตามลำดับ กล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในปัจจุบัน การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขและรหัสต่างๆ ในระยะแรกของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องอาศัยนักเขียนโปรแกรมหลัก และยังเข้าใจว่าผู้ที่จะทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ต้องมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันแม้คนส่วนมากคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่สภาพแวดล้อมของสังคมและการออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยเปลี่ยนแนวคิดจาก "ระบบคอมพิวเตอร์มีไว้เพื่อนักคอมพิวเตอร์" เป็น "ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคนทุกคน"
ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ได้แก่ ความคุ้มค่า เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของสื่อ เลือกใช้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย เลือกใช้ให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้วแทนการสร้างเอง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

- เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
- ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
- ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
- ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
- รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
- โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
- การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
- เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
- ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
- ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
- อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
- เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
- โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ